ทำไมเราจึงจำเป็นต้องใช้แบบก่อสร้างในการสร้างบ้าน?

cover-home-design
  1. การออกแบบบ้าน และการเขียนแบบก่อสร้าง นั้นมีความแต่ต่างกันอยู่ ซึ่งทางลูกค้าที่กำลังจะก่อสร้างบ้านส่วนใหม่มักเข้าใจผิด

การออกแบบ คือ แบบซึ่งทางผู้ออกแบบซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถาปนิก จะออกแบบดีไซน์ตามความต้องของลูกค้าให้ทำให้ลูกค้าเห็นภาพเสมือนจริง ผ่านแบบโมเดล 3 มิติ หรือภาพ Perspective เป็นต้น

home-design

home-design

ซึ่งแบบประเภทนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ก่อสร้างจริงได้ และไม่ได้แบบที่จะนำไปใช้ “ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง” กับทางหน่วยงานรับผิดชอบได้ เช่น สำนักงานเขต เทศบาล หรือ อบต ในท้องถิ่นนั่นๆ

แบบก่อสร้าง คือ แบบบ้านที่สามารถนำไปก่อสร้างจริง และสามารถนำไปใช้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารได้ ตัวแบบนั้นจะประกอบไปด้วย 4 หมวดหมู่แบบย่อย คือ 1.แบบสถาปัตยกรรม 2.แบบวิศวกรรมโครงสร้าง 3.แบบไฟฟ้า 4.แบบระบบสุขาภิบาล

  1. แบบสถาปัตยกรรม : จะเป็นแบบที่แสดงรูปแบบของแปลน รูปด้านของอาคาร รูปตัดภายในอาคาร แบบขยายส่วนต่างๆ ของอาคาร เช่น ประตูหน้าต่าง , ห้องน้ำ , บันได และจะเขียนแสดงกำหนดรายการวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างของอาคารหลังนั้นๆ
  2. แบบวิศวกรโครงสร้าง : จะเป็นแบบที่เขียนแสดงงานโครงสร้างรับน้ำหนักอาคารทั้งหมด ตั้งแต่ งานฐานราก-เสาเข็ม แปลนคานชั้นต่าง และโครงสร้างหลังคา  รวมไปถึงแบบขยายโครงสร้างต่างๆ เพื่อที่จะให้ช่างหน้างานได้ก่อสร้างตามแบบที่วิศวกรได้คำนวณไว้ได้อย่างถูกต้อง
  3. แบบไฟฟ้า : จะเป็นแบบแปลนที่แสดงจำนวณของดวงโคมชนิดต่างๆ ในบ้าน และแสดงตำแหน่งของอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่ล่ะชนิดในบ้าน เช่น ตำแหน่ง สวิทช์เปิด-ปิดไฟ ปลั๊กไฟเต้ารับ เครื่องปรับอาการ เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น
  4. แบบระบบสุขาภิบาล : จะเป็นแบบที่แสดงตำแหน่ง  แนวท่อน้ำประปาต่างๆ ที่วิ่งเข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน พร้อมทั้งบอกขนาดและชนิดของท่อนั้นๆ แบบอีกส่วนคืองานระบบท่อโสโครก ท่อระบายน้ำทิ้ง ที่แบบจะเขียนแสดงขนาดและตำแหน่งแนวท่อว่าของเสียในบ้านว่าไหลงานไหน ผ่านระบบบำบัดอะไรก่อนปล่อยออกไปจากบ้านของเรา

home-design

home-design

home-design

ดังนั้นแบบก่อสร้าง จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ก่อสร้างสร้างบ้านและในการยื่นขออนญาตก่อสร้างอาคาร

Written by Freelance Fastwork: เสริมศักดิ์

สนใจจ้างงานฟรีแลนซ์ได้ที่ https://fastwork.co/user/sermsaks/engineering-structural-design-76941133

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.