ทำความรู้จักตำแหน่ง Quality Assurance มีหน้าที่อะไรบ้าง?

ทำความรู้จักตำแหน่ง Quality Assurance มีหน้าที่อะไรบ้าง?

          ข้อสงสัยที่หลายๆ คนตั้งคำถามเมื่อได้ยินคำว่า Quality Assurance หรือ QA คงหนีไม่พ้นว่า มีหน้าที่อะไร รองลงมาคือมีความแตกต่างกับ QC อย่างไร ซึ่งในสายงานการผลิตหรืองานด้านอุตสาหกรรมนั้น ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้มีความสำคัญเกี่ยวโยงกันในกระบวนการทำงานอย่างปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้นสำหรับใครที่ไม่ทราบว่า Quality Assurance มีหน้าที่อะไรบ้าง บทความนี้เราจะมาสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ กันค่ะ 

          ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ด้วยมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ หรือ Quality Management System: QMS ซึ่งเป็นข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 เพื่อให้การบริหารคุณภาพสินค้าต่างๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยประกอบด้วยโครงสร้างการจัดการองค์กร การกำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคลากรในองค์กร กระบวนการทำงาน เอกสารระเบียบขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการปฏิบัติงาน และทรัพยากรการจัดการ จึงได้มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในการประกันคุณภาพโดยตำแหน่งงานที่มีชื่อว่า Quality Assurance และ งานควบคุมคุณภาพโดยตำแหน่งงานที่มีชื่อว่า Quality Control

Quality Assurance หมายถึงอะไร?

          ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจความหมายของ Quality Assurance ให้กระจ่างกันก่อน ซึ่ง Quality Assurance มีความหมายว่า การประกันคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ ด้วยการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพผ่านขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สินค้าเหล่านั้นเป็นไปตามข้อกำหนด หรือข้อตกลงและประกันคุณภาพให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด

ความสำคัญของ Quality Assurance

          การประกันคุณภาพจะสามารถสร้างความไว้วางใจและสร้างความภักดีต่อลูกค้าได้ ทำให้องค์กรสร้างผลิตภัณฑ์และบริการได้ตรงตามความต้องการอย่างมีคุณภาพ เป็นที่พึงพอใจ สร้างความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือเป็นกระบวนการที่ช่วยลดข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ

หน้าที่ของ Quality Assurance

          ตำแหน่งงาน Quality Assurance มีหน้าที่ในการวางแผนและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน หรือ ผลิตสินค้าต่างๆ โดยเป็นผู้กำหนดแนวทาง กฎเกณฑ์ มาตรฐาน ของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด รวมถึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบความเรียบร้อยของสินค้าที่ผ่านกระบวนการ QC มาแล้ว ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของตำแหน่ง Quality Assuranc คือการนำปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมาวิเคราะห์เพื่อวางแผน ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นอีกครั้ง กล่าวคือเป็นหน้าที่ที่ต้องส่งผลต่อการลดจำนวนลงของปัญหาด้านการผลิตในระยะยาวนั่นเอง

คุณสมบัติในการทำงาน Quality Assurance

    • มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ
    • มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO ประเภทต่างๆ
    • มีความสามารถในการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องอย่างชำนาญ
    • มีการวางแผน การจัดการ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
    • เป็นคนช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ
    • มีทักษะการสื่อสารที่ดี สามารถอธิบายและถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

หน้าที่ของ Quality Assurance เกี่ยวข้องกับ ISO อย่างไร?

          จากที่กล่าวไว้ข้างต้นจะเห็นว่าหน้าที่ของ Quality Assurance มีความเกี่ยวข้องกับ มาตรฐาน ISO ที่ย่อมาจาก International Organization for Standardization ที่หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับคำนี้มาบ้าง แต่น้อยคนที่จะทราบถึงความหมายและความสำคัญของมาตรฐานนี้ ซึ่ง ISO เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีหน้าที่ควบคุมและดำเนินการในด้าน QA เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ มีการประกันคุณภาพสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเจ้าหน้าที่ Quality Assurance จะต้องควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO ที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวคิดการทำงานด้าน Quality Assurance ได้เริ่มต้นจากสายงานการผลิตก่อน หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาพร้อมกับแพร่หลายเข้าสู่กระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมอื่นๆ ในปัจจุบัน

ขั้นตอนการดำเนินงาน Quality Assurance

ตำแหน่งงาน Quality Assurance จะมีขั้นตอนการทำงานหลักๆ ดังต่อไปนี้

    • Failure testing

          ขั้นตอนการทดสอบความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ ซึ่ง Quality Assurance จะต้องทำการทดสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดว่าสินค้ามีส่วนที่ชำรุด เสียหาย หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานชิ้นงานหรือไม่อย่างไร โดยการทดสอบจะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ 

    • Statistical process control

          Statistical process control หรือ SPC เป็นขั้นตอนการควบคุมกระบวนการทางสถิติที่ Quality Assurance จะต้องใช้ข้อมูลต่างๆ มาอ้างอิงในเพื่อทำการวิเคราะห์ วางแผนการทำงาน จัดการ และควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์

    • Total quality management

          Total quality management หรือ TQM เป็นขั้นตอนการจัดการคุณภาพด้วยวิธีเชิงปริมาณ ด้วยการอ้างอิงข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้จากข้อมูลและการวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนแนวทางการวางแผนการผลิต และตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

    • SQA Software quality assurance 

          Software quality assurance หรือ SQA  เป็นขั้นตอนการนำระบบซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนาการประกันคุณภาพ เพื่อลดข้อผิดพลาดต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้นและประหยัดเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่โดยคร่าวๆ ที่รวบรวมมาเพื่อไขข้อสงสัยของหลายๆ คน ซึ่งในรายละเอียดการทำงานจริงของตำแหน่ง Quality Assurance นั้น จะมีกระบวนการบางส่วนที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ ทั้งนี้หากคุณเป็นเจ้าของกิจการที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบระบบ Quality Assurance โดยไม่ต้องการจ้างงานให้เป็นพนักงานประจำ Fastwork.co เราตอบโจทย์นี้ให้คุณได้ด้วยฟรีแลนซ์รับทดสอบโปรแกรม ทดสอบระบบ ที่พร้อมให้บริการ Software Tester ระบบทุกแพลตฟอร์มทั้งระบบ Automate และ Manual เพื่อหา Bugs รวมไปถึงการ Test Case การขียน Script หรือ Automate Case ฯลฯ เรียกได้ว่าเราคือเป็นแหล่งรวมบริการด้าน Quality Assurance ที่คุณตามหาอยู่แน่นอน

 

No Comments Yet

Comments are closed