จัดการเงินอย่างไร เมื่อมีรายได้เข้ามาเยอะ | Money Buddy EP.03

[vc_row][vc_column][vc_column_text]

แก้ปัญหาการเงินฉบับฟรีแลนซ์ ด้วยการแบ่งกำไร ออมเงิน และลงทุนต่ออย่างยั่งยืน

[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]ทำยังไงให้เรากลายเป็นฟรีแลนซ์ที่ร่ำรวยและมั่งคั่งได้สมดังใจหวัง?[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]ลำพังแค่ความเก่งกาจ ทำงานได้อย่างดีมีคุณภาพ และมีลูกค้าเข้ามาเรียกใช้บริการไม่ขาดสาย หรือหวังให้โชคช่วยอย่างเดียวก็คงไม่เพียงพอ เพราะจริงๆ แล้ว ถ้าฟรีแลนซ์ทั้งหลายอยากจะรวยกัน ก็ต้องมีความมั่นคงทางการเงินก่อน โดยการเริ่มต้นวางแผนบริหารจัดการอย่างรอบคอบและรัดกุม[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]โดยธรรมชาติของอาชีพฟรีแลนซ์ เวลางานมา ก็มาแบบท่วมท้น แต่บทจะเงียบ ก็เงียบฉี่จนน่าใจหาย นี่คือข้อที่เราทุกคนควรระมัดระวัง ไม่หลงกลสภาวะเงินถาโถมเข้ามา แล้วพร้อมจับจ่ายทุกอย่างแบบ Non Limit เพราะเงินที่มีเข้ามาอาจจะหมดลงง่ายๆ ได้ทุกเมื่อ วิกฤตินี้เกิดได้ ก็แก้ได้ ถ้าอยากเป็นฟรีแลนซ์ที่มีสุขภาพการเงินแข็งแรง ต้องมีแพลนเป๊ะๆ เผื่อวันที่มีรายได้ไม่แน่นอน เพราะแม้รายรับขาด แต่รายจ่ายจะยังคงอยู่เสมอ ดังสัจธรรม[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]เอาล่ะ มาแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ด้วยวิธีการจัดการรายได้อย่างเป็นระบบกันดีกว่า[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]1. ต้องคำนวณรายได้ให้เป๊ะ จากการดูกำไรสุทธิรายรับ[/vc_column_text][vc_column_text]เริ่มด้วยการเคลียร์จำนวนเงินรายได้ด้วยกำไรสุทธิ เพื่อแบ่งผลกำไรออกมาอย่างชัดเจน เพราะการทำงาน เราต้องมีการคืนทุน และหมุนเวียนเงินได้ เมื่อได้กำไรมา ให้นำไปหักลบเพื่อการใช้จ่ายหนี้สิน เคลียร์หนี้ให้หมด โดยเฉพาะกลุ่มหนี้ที่เกิดจากการบริโภค ซึ่งส่งผลกับความมั่งคั่งของเรามากๆ ทั้งบัตรเครดิต ที่มีดอกเบี้ย 16 – 18 เปอร์เซ็นต์, บัตรกดเงินสด ที่มีดอกเบี้ย 22 – 28 เปอร์เซ็นต์ และ Nano – Finance ที่มีดอกเบี้ย 33 – 36 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นควรใช้เงินอย่างมีสติ รีบเคลียร์หนี้ให้เบาบางลง จะได้ไม่มีภาระดอกเบี้ยมากจนเกินไป[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]2. ต้องมีเงินออมเพื่ออนาคตที่อาจไม่แน่นอนอยู่เสมอ[/vc_column_text][vc_column_text]ช่องทางรวยถัดมา คือการออมเงินไว้ เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายในเดือนต่อๆ ไปอย่างไม่ขาดสาย ถ้าเดือนนี้ได้รับทรัพย์เยอะ ก็ต้องออมไว้อยู่ดี เผื่อไว้สำหรับก้าวถัดๆ ไปด้วย เพราะยุคโควิด – 19 อะไรก็เกิดขึ้นได้ ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน อย่างการล็อกดาวน์อาจทำให้ถูกยกเลิกการจ้างงาน เมื่องานหด เงินจึงหาย การออมทรัพย์สำหรับอนาคตเลยเป็นเรื่องสำคัญมาก เผื่อกรณีไม่มีงาน ฟรีแลนซ์อย่างเราๆ จะได้ใช้ชีวิตต่อแบบไม่เคร่งเครียดมากนัก อีกอย่าง ควรเลิกเชื่อว่า การมีหนี้สักหน่อย จะทำให้เรามีแรงผลักดันทำงานต่อไป เพราะความเป็นจริง การกินอิ่มท้องและนอนหลับสบาย จะช่วยให้เรามีแรงทำงาน และมีความคิดสร้างสรรค์โลดแล่นได้มากกว่า[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]3. ต้องแบ่งเงินเพื่อสร้างกำไรในช่องทางโอกาสอื่นๆ [/vc_column_text][vc_column_text]ฟรีแลนซ์ทำงานเพื่อเงินรายได้ก็จริง แต่เราก็ต้องขยันสร้างช่องทางใหม่ๆ เพื่อให้ตัวเองมีกลไกสร้างรายได้จากช่องทางอื่นๆ ต่อไป เช่น การแบ่งเอาเงินมาลงทุนต่อยอดเรื่อยๆ ผ่านช่องทางอย่างหุ้น กองทุน หรือเงินดิจิทัลต่างๆ นอกจากเงินในกระเป๋าและบัญชีธนาคาร เราควรมีการจัดสรรปันส่วนสำหรับการลงทุนประเภทนี้เอาไว้ เพราะการจะได้พักผ่อนอย่างจริงจัง เพื่อให้ร่างกายและจิตใจฟื้นฟูนั้น จะทำได้จริงก็ต่อเมื่อคุณมีเงินเก็บพร้อม และมีเงินก้อนสำหรับลงทุนต่อ เพื่อให้เกิดผลกำไรในระยะยาวได้นั่นเอง[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]ทำตาม 3 ลำดับนี้ รับรองชาวแลนซ์ไม่มีวันหลงทางเรื่องรายได้ ถ้าคุณไม่มีหนี้เลย ก็ให้นำเงินแบ่งออกมาสะสม และลงทุนตามข้อ 2 และข้อ 3 แต่ถ้ามีหนี้อยู่ ก็ลดอาการปวดขมับ ด้วยการจัดสันปันส่วนเงินในอัตตราส่วน 30 : 30 : 30 ก็ได้นะ [/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]หัวใจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบฉบับฟรีแลนซ์มืออาชีพ คือการจัดสรรทรัพยากร และการจัดการเงินทองให้ดี[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]เงินคือเครื่องมือสร้างความสุขอย่างหนึ่ง ในขณะที่ต้องอดออม ก็ต้องนำเงินมาจับจ่ายเพื่อตัวเองบ้าง ด้วยการจัดสรรผลกำไรเล็กๆ ออกมาซื้อความสุขเป็นครั้งคราว เพราะนอกจากชีวิตการทำงานเพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ระหว่างทางเราก็ต้องใช้เงินเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในทางหนึ่งด้วย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]
Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.